คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้
MJUclinictechnology

ประวัติความเป็นมา

คลินิกเทคโนโลยีเป็นโครงการที่เป็นความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา กับ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ลงนามบันทึกความร่วมมือที่จะร่วมกันเป็นพันธมิตรในการทำงาน มีเป้าหมายที่จะนำผลงานวิจัยและพัฒนาตลอดจนนวัตกรรมที่มีอยู่ในหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งสถาบันการศึกษา ไปสู่กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 แพลตฟอร์ม ดังนี้

  1. แพลตฟอร์มบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี (Technology Consulting Service : TCS) มุ่งเน้นการบริหารจัดการเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี ไปสู่เครือข่ายการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน(Partnership) ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม (Participatory) ของคลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายทั่วประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการคำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยีให้กับกลุ่มเป้าหมายในพื้นรับผิดชอบ ให้ผู้รับบริการได้ประโยชน์สูงสุด มีความพึงพอใจต่อการให้บริการ และสร้างความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมระหว่างเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีทั่วประเทศ
  2. แพลตฟอร์มเพิ่มศักยภาพธุรกิจชุมชน (Building Community Enterprise : BCE) จัดทำขึ้นเพื่อให้นักวิจัยนำความรู้ด้าน วทน. และการบริหารจัดการ การตลาด ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันและวางรากฐานทางเศรษฐกิจให้กับผู้ประกอบการชุมชน ทั้งนี้ แพลตฟอร์ม BCE มุ่งเน้นการพัฒนาสินค้า(Product) และบริการ(Service) ตลอดห่วงโซ่คุณค่า(ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง) มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้วยการต่อยอดภูมิปัญญา นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน(Quality & Standard) มีกระบวนการในการช่วยผู้ประกอบการในการจัดทำโมเดลธุรกิจ(Business model) และแผนธุรกิจ(Business plan) ที่ชัดเจนตอบโจทย์ทั้งตลาดออฟไลน์และออนไลน์ ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าและบริการของธุรกิจชุมชนและส่งเสริมวิธีคิดและการดำเนินธุรกิจในรูปแบบของธุรกิจเพื่อชุมชน(Business for Community) หรือธุรกิจเพื่อสังคม(Social Enterprise) ได้ในอนาคต
  3. แพลตฟอร์มบ่มเพาะหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ (Science Community Incubator : SCI) จัดทำขึ้นเพื่อให้ทีมนักวิจัยได้นำความรู้และประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปแก้ปัญหา โจทย์ของการการพัฒนาชุมชน/หมู่บ้าน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มโอกาสของการเข้าถึง วทน. ทั้งนี้ แพลตฟอร์ม SCI จึงมุ่งเน้นการนำ วทน. ไปพัฒนาพื้นที่เพื่อสร้างชุมชนวิทยาศาสตร์ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ โดยคนในชุมชนมีหลักคิดเชิงวิทยาศาสตร์ สามารถพึ่งพาตนเองได้ สร้างการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ และสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง “นักวิทย์ชุมชน (STI changemakers)” เพิ่มขีดความสามารถของชุมชนและท้องถิ่นในการบริหารจัดการตนเอง มีความสามารถในการบริหารห่วงโซ่คุณค่าเพื่อเศรษฐกิจชุมชน ตลอดจนมีการสร้างระบบข้อมูลและแพลตฟอร์มความรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยมีเป้าหมายสุดท้าย (ultimate goal) คือ การสร้างโอกาสให้ชาวบ้าน ได้ลุกขึ้นมาแก้ปัญหาของชุมชนเอง สร้างความความเข้มแข็งเพื่อสร้างรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาวสู่การสร้าง “นวัตกรชุมชน” ต่อไป
  4. แพลตฟอร์มพัฒนาขีดความสามารถเครือข่าย (Network Capacity Building : NCB) มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะ(Upskill/Reskill) ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่ เช่น แกนนำของกลุ่มที่มารับบริการในแต่ละแพลตฟอร์ม ทีมงานคลินิกเทคโนโลยีเครือข่าย ฯลฯ เพื่อเสริมทักษะในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้าน วทน.(STI Changemakers) ในอนาคต

พันธกิจ

เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลและให้บริการคําปรึกษาและข้อมูลทางเทคโนโลยี เป็นตัวกลางประสานการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีร่วมกันระหว่างเครือข่ายความเชี่ยวชาญเฉพาะทางรวมถึงส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยี ที่มีศักยภาพและเป็นองค์ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาไทย และเป็นศูนย์ประสานงานและสนับสนุนงานด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัด


เป็นตัวกลางการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Intermediate Technology Transfer) และเป็นแหล่งที่รวมข้อมูล เทคโนโลยี นวัตกรรม และภูมิปัญญาชาวบ้าน ตลอดจนสร้างวิทยากรประจําเครือข่ายในสถาบันการศึกษา/ มหาวิทยาลัย ที่จะเป็นทั้งผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี และผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อชุมชนและท้องถิ่น นําไปใช้ให้ เกิดประโยชน์ นําเทคโนโลยีไปพัฒนาในกระบวนการผลิตสินค้า หนึ่งตําบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ทําให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่ม และมีมาตรฐาน เกิดการวิจัยและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยี ที่มีศักยภาพ และเทคโนโลยีที่เป็นภูมิปัญญาไทยหรือการ วิจัย และพัฒนาเพื่อการประยุกต์ใช้ในชุมชนและท้องถิ่นรวมไปถึงบทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าไปผลัก ดันให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชน และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตในสังคม

Responsive image
Responsive image
Responsive image
Responsive image